จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน)ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริง
ได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน
ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ
Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
Thin Flim Transistor (TFT)
จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN
ข้อควรจำ
ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเมย์ โพตส์ ข้อมูลไม่ได้
ตอบลบเทคโนโลยีการฉายภาพ
ตอบลบเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันหลายอย่าง มีขึ้นเพื่อใช้ส่งออกภาพวิดีโอที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
จอภาพผลึกเหลว (LCD)
จอภาพผลึกเหลวแบบส่องไฟผ่าน (passive LCD) เคยใช้ในแล็ปท็อปจนถึงช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วยมีข้อเสียที่ว่ามีความคมชัดต่ำและตอบสนองช้า
จอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (TFT-LCD) สามารถสร้างภาพได้ดีกว่า ปัจจุบันจอภาพผลึกเหลวแทบทั้งหมดเป็นประเภทนี้
หลอดภาพรังสีแคโทด (CRT)
จอภาพคอมพิวเตอร์แบบแรสเตอร์ สร้างภาพโดยใช้พิกเซลมาประกอบกัน เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมมากสำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นก่อน
จอภาพคอมพิวเตอร์แบบเวกเตอร์ ใช้งานกับอุปกรณ์เรดาร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องเกมเวกเทรกซ์ (Vectrex) รวมไปถึงเกมตู้อย่างแอสเทอรอยด์ส (Asteroids) เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ระบบของการสะท้อน
โทรทัศน์เคยใช้เป็นจอภาพให้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอประกอบ (composite video) (ขั้วกลมสีเหลือง) เข้ากับตัวกล้ำสัญญาณ (modulator) แต่คุณภาพและความละเอียดของภาพมักจะถูกจำกัดโดยความสามารถของโทรทัศน์นั้นเอง
มอนิเตอร์ (Monitor) หรือที่นิยมเรียกว่า "จอภาพ" คืออุปกรณ์ที่เป็นช่องทางให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์แบบอื่น ๆ ที่มีจอ แสดงผลการสั่งงาน แสดงผลข้อมูลหรือสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ กราฟฟิกหรือวีดีโอ ให้ผู้ใช้ได้เห็นคะ ขนาดของจอภาพที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์มีหลากหลายขนาด ซึ่งกำหนดด้วยการวัดทแยงมุมจอภาพ เช่น จอภาพ 14 นิ้ว, 15 นิ้ว, 17 นิ้ว, 20 นิ้ว ฯลฯ อดีตจะมีแค่จอภาพชนิดเดียวคือ จอภาพซีอาร์ที (CRT Monitor) ที่ทำงานเหมือนจอโทรทัศน์ที่ทำจากแก้ว ต่อมาก็มีการพัฒนาจอภาพขึ้นมาหลายรูปแบบ หน้าจอกว้างขึ้นและมีขนาดที่บางลง เช่น จอแอลซีดี (LCD monitor) จอพลาสม่า (plasma monitor)
ตอบลบจอคอมพิวเตอร์ (Monitor)
ตอบลบจอคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำดหรับจอคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel
ลักษณะภายนอกของจอคอมพิวเตอร์ก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอคอมพิวเตอร์มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอคอมพิวเตอร์แสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอคอมพิวเตอร์ออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
จอคอมพิวเตอร์สีเดียว (Monochrome Monitor)
จอคอมพิวเตอร์หลายสี (Color Monitor)
จอคอมพิวเตอร์แบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
อยากให้เจ้าของ blog ปรับแต่ง สีของตัวอักษรผู้ติดตาม คลังบทความให้เห็นชัดหน่อยค่ะ อยู่ที่ การออกแบบ ขึ้นสูง จะสามารถปรับข้อความสีให้สามารถอ่านออกด้วย ข้อสำคัญอีกอย่างคือ ผู้ที่แสดงความเห็นกรุณาระบุหมายเลขรหัส username ที่เป็น gmail เพื่อครูจะได้ให้คะแนนต่อไปด้วยค่ะ
ตอบลบขอบคุนสำหรับการแนะนำค่ะอาจารย์
ตอบลบจะลองทำดูค่ะ
เพราะตอนที่ทำบทความ ตัวหนังสือเอียงๆ ทั้งที่ไม่ได้ปรับอ่ะคะ
จาก เรื่องจอภาพ ที่กลุ่มสับปะรดได้ โพสต์นั้น ทำให้ เราได้ รู้ถึงวิวัฒนาการของจอภาพ ตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นจอภาพแบบมอนิเตอร์ จนถึงปัจจุบัน ที่เปนจอภาพแบบ LCD ซึ่งมีนิยมใช้มากในปัจจุบัน ได้รู้ว่าส่วนประกอบของจอภาพเป็นอย่างไร บ้าง แล้วก็มีข้อควรจำที่เรา ชอบเพราะว่า ทำให้ ได้เรียนรู้ถึงวิธีการรักษาจอภาพ ด้วย..
ตอบลบจากกลุ่มแตงโม
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะในเรื่อง screen saver เพราะปกติชอบเปิดคอมฯทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบทำไมบล็อกเทอเปนรูปแอปเปิ้ลละ ไม่ใช่สับปะรดหรอ
ตอบลบข้อมูลมีน้อยไป แต่จอภาพมีการพัฒนาต่อการใช้งานมากขึ้น เพราะว่าผมใช้งานกับคอมมากเปิดไว้ทั้งคืน ทำให้รู้ถึงวิธีการรักษามากขึ้น
ตอบลบอยากให้เจ้าของบล๊อค ทำเนื้อหารายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้
ตอบลบอยากได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่านี้นะคับ
ตอบลบโดยส่วนตัวเล่นทั้งคืนอยู่แล้ว มีประโยชน์ มากคับ
ฮะๆๆ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคับ
เนื้อหามีน้อยมากค่ะ อยากให้มีเนื้อหาเพิ่มเติมมากกว่านี้ ส่วนMonitor ขอเพิ่มเติมเนื้อหา วิธืปัญหาเเละการเเก้ไข
ตอบลบปัญหาและการแก้ไข
1. จอภาพมืด ต้องกดปุ่มใดๆ บนแป้นพิมพ์ถึงจะทำงาน
นี่ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นระบบ Power Save หรือ Power Energy เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แต่ถ้าต้องการยกเลิกโหมดนี้ สามารถเข้าไปที่ Display Properties และคลิก Screen Saver และคลิก Settings จากนั้นให้คลิกในส่วน Power Schemes และปรับค่าตามความต้องการ
2. จอภาพสั่น
ปัญหามาจากวางมือถือใกล้จอภาพ หรือวางจอภาพใกล้อุปกรณ์ที่มีคลื่นแม่เหล็ก เช่น ลำโพงขนาดใหญ่ เป็นต้น ลองย้ายตำแหน่งดู แต่ถ้าไม่ใช่ ให้ลองปรับอัตราความถี่ของจอภาพ (refresh) ให้สูงขึ้น ประมาณ 75 เฮิรตซ์ขึ้นไป แต่ถ้าไม่หายคงต้องส่งช่าง เพื่อตรวจสอบดูแล้วครับ
3. ไฟติด แต่หน้าจอว่าง
ควรตรวจสอบสายสัญญาณของ monitor ว่าต่อไว้ดีหรือไม่
4. ไฟติด แต่สีเพี้ยน
ตรวจสอบสายสัญญาณด้านหลังของตัว monitor ว่าต่อแน่นหรือไม่ ให้ทดลองขยับสายสัญญาณดูใหม่ (สาเหตุที่เป็นไปได้อีกอย่าง อาจมาจากเข็มของสายสัญญาณหัก หรืองอ ถ้ากรณีคงต้องส่งซ่อมจะดีกว่า)
5. ไฟติด แต่ภาพและตัวอักษรบรือ ไม่ชัด
สาเหตุมาจากหลอดไฟเริ่มเสื่อม ควรส่งซ่อมจะดีกว่า ราคาไม่แพงมากนัก เพราะการแก้ไขอาจจำเป็นต้องมีการปรับโฟกัสของภาพใหม่
6. จุดสว่างของจอภาพ LCD
มีลักษณะเป็นจุดสว่างบนจอภาพ ทดสอบได้โดยการเปลียนสีของหน้าจอให้เป็นสีดำ หรือสีเข้มๆ จะสังเกตุเห็นจุดสว่างบนจอภาพ (สีฟ้า) ถ้าเป็นเครื่องเพิ่งซื้อ ให้รีบเปลี่ยนโดยด่วน